6 สิ่งรู้งี้! โปรเจคไม่ FAIL

Why Digital Transformation Fail

6 สิ่งรู้งี้! โปรเจคไม่ FAIL

มีมากถึง 70% ขององค์กรทั้งหมด ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation คิดเป็นมูลค่าที่สูญเสียไปกว่า 900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30 ล้านล้านบาท

Digital Transformation เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเร่งทำ Digital Transformation เป็นกุญแจสำคัญในการตอบสนองต่อ Disruption และ COVID-19 แผนงานทรานส์ฟอร์มธุรกิจที่เคยวางแผนไว้ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงหลายปี กลับต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ

ธุรกิจจำนวนมากทั่วโลกต่างก็ประสบกับความท้าทายครั้งใหม่นี้ และได้มีการเพิ่มความพยายามในการเร่งทรานส์ฟอร์มในช่วง 1–2 ปีที่ผ่านมา เพื่อความอยู่รอดและสร้างการเติบโตในสภาพแวดล้อมใหม่

โดยบริษัทที่ได้เริ่มทำ Digital Transformation มาก่อนหน้านี้จะมีผลประกอบการด้านการเงินที่ดีกว่าบริษัทที่ยังไม่ได้ทำหรือเพิ่งจะเริ่มทำ

องค์กรที่เป็นผู้นำด้านดิจิทัล (Digital Leaders) สามารถสร้างรายได้มากกว่า 1.8 เท่า และมีมูลค่าของกิจการสูงกว่า 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรที่ล้าหลังด้านดิจิทัล (Digital Laggards)

องค์กรที่เป็นผู้นำด้านดิจิทัล (Digital Leaders) สามารถทำรายได้เติบโตเร็วกว่าคู่แข่ง 2–3 เท่า

Gap หรือ ความแตกต่างของ องค์กรที่เป็นผู้นำด้านดิจิทัล (Digital Leaders) vs. องค์กรที่ล้าหลังด้านดิจิทัล (Digital Laggards) มีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างมีนัยสำคัญ

6 ปัจจัยหลัก ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้โครงการเทคโนโลยีขององค์กรล้มเหลว

#1 Define

ผู้นำมีการกำหนดนิยาม วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์ ของโครงการที่จะดำเนินการไม่ชัดเจนเพียงพอ ไม่สามารถกำหนดปัญหาที่องค์กรพยายามจะแก้ไข อีกทั้งยังขาดมิติการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ หรือ โครงการที่จะดำเนินการไม่ได้ส่งผมกระทบ หรือ สร้าง impact ที่มากพอสำหรับองค์กร

#2 Scope

ไม่สามารถระบุขอบเขตการดำเนินโครงการที่เหมาะสม มีการกำหนดความต้องการ (Requirement) ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ และไม่ได้เรียงลำดับความสำคัญ หรือบริหารจัดการความคืบหน้าของโครงการตามกำหนดได้

#3 Manage

ผู้บริหารไม่สามารถจัดการปัญหาหรือวิกฤตที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการได้ ไม่มีการวางแผนและจัดสรรทรัพยากรทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม ไม่มีการสื่อสารภายในองค์กรที่จะช่วยสร้างความเข้าใจ ชัดเจน ทั่วถึง สม่ำเสมอ ทันเวลา และเกิดบรรยากาศการทำงานของทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ

#4 Telent

ทีมงานขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ อีกทั้งองค์กรยังไม่สามารถพัฒนาหรือดึงดูดบุคคลากรที่มีความสามารถสูง (Talent) เข้ามาในองค์กรอย่างเพียงพอ และไม่สามารถเสริมสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพให้กับทีมอย่างเพียงพอ

#5 Support

ผู้บริหารล้มเหลวในการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ อาจเป็นเพราะขาดประสบการณ์ หรือ ไม่มีภาวะความเป็นผู้นำที่ดี รวมไปถึงไม่ได้รับการสนับสนุน จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากผู้บริหารคนอื่นและกรรมการในบอร์ดบริหาร (หลายครั้งเป็นการได้รับแรงต่อต้าน แม้ว่าผู้บริหารคนที่ต่อต้านนั้นมักจะพูดว่าให้การสนับสนุนก็ตาม แต่พฤติกรรมไม่ใช่)

#6 Culture

มีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการทำดิจิทัลและสร้างนวัตกรรมมีกระบวนการทำงานเชิงลบมีการเมือง/เล่นพรรคเล่นพวกในองค์กร มีการตัดสินใจแบบรวมศูนย์ที่ผู้บริหารระดับสูงบางคนเท่านั้น

เพื่อลดโอกาสความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นในโครงการเทคโนโลยีขององค์กร เรามาลด ละ เลิก และหันมาสนับสนุนให้มีปัจจัยเชิงบวกเพื่อสร้างความสำเร็จกันครับ

ที่มา :

ส่วนหนึ่งจากหนังสือ Digital Transformation Compass เข็มทิศทรานส์ฟอร์มธุรกิจ หนังสือใหม่เล่มที่ 3 ของหนังสือชุด Digital Transformation โดย พจ ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล วางจำหน่ายในรูปแบบ E-Book ในวันที่ 3 ตุลาคม 2564 นี้ (www.digitaltransformationcompass.com)

เชิญร่วม เสวนาออนไลน์ฟรี! ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มธุรกิจ 2022 พัฒนาดิจิทัลองค์กรด้วย Digtial Maturity Index ดัชนีชีวัดระดับความพร้อมดิจิทัลขององค์กร วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคมนี้ เวลา 13–16น.

ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มธุรกิจ 2022 พัฒนาดิจิทัลองค์กรด้วย Digtial Maturity Index ดัชนีชีวัดระดับความพร้อมดิจิทัลขององค์กร

ลงทะเบียน ไม่มีค่าใช้จ่าย

และดูกำหนดการเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/3A77FlQ

เพื่อรับสิทธิพิเศษ!

1. รายงาน Thailand Digital Transformation Readiness 2021

2. สิทธิ์การเข้าใช้ระบบประเมิน Digital Maturity Assessment

3. สรุปและตัวอย่างหนังสือใหม่ Digital Transformation Compass เข็มทิศทรานส์ฟอร์มธุรกิจ

--

--