Digital Transformation Compass by The Conclusion
สรุป “4 เครื่องมือ” ในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ โดย The Conclusion — อาสาสรุป เพื่อให้ธุรกิจของคุณก้าวทันโลก และอยู่รอดได้ในยุคที่โลกหมุนเร็วขึ้นเรื่อย ๆ แบบนี้ แต่ละเครื่องมือมีความต่อเนื่องกัน ให้ลองอ่านและใช้งานจากเครื่องมือที่ 1 ไปยังเครื่องมือที่ 4 นะครับ
เครื่องมือที่ 1: Digital Transformation in Action
เริ่มต้น ทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วย “ความเข้าใจ”
คนที่อยากเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร??
หนังสือเล่มนี้ได้ให้แนวทางการเริ่มต้นด้วย “การทำความเข้าใจทั้ง 5 มิติ”
เพื่อการทรานส์ฟอร์มธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ไว้ดังนี้
1.เข้าใจ…การแข่งขันในปัจจุบัน (Competition)
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารูปแบบของธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ในอดีตไม่ว่าธุรกิจคุณจะใหญ่แค่ไหน ก็ไม่แน่ว่าคุณจะคงความยิ่งใหญ่ในยุคนี้ได้
ตัวอย่างในการแปลงอย่างชัดเจนคือการเกิดขึ้นของ “ธุรกิจแพลตฟอร์ม (Platform Business)”
และธุรกิจประเภทนี้ ได้ทำการปฏิวัติวงการธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิง เช่น
“Grab” เป็นแพลตฟอร์มเรียกรถ ส่งพัสดุ และสั่งอาหาร
โดยไม่มีรถหรือร้านอาหารเป็นของตัวเองเลย
“Shopee” เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce ใช้ซื้อขายสิ้นค้า
โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้า หรือสินค้าเป็นของตัวเองเช่นกัน
เราอาจไม่จำเป็นต้องสร้าง “แพลตฟอร์ม” เป็นของตัวเอง
และในอนาคตก็คงมีธุรกิจประเภทอื่น ๆ ที่เราควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม
เพื่อ “หาโอกาส” ในการพัฒนาธุรกิจต่อไป
2.เข้าใจ…พฤติกรรมของลูกค้า (Customer Experience)
“ลูกค้าอยู่ที่ไหน เราก็ไปอยู่ที่นั้น”
อาจฟังดูเป็นหลักง่าย ๆ แต่มีประโยชน์มากเลยทีเดียว
สมัยก่อนลูกค้าอยู่กับหน้าจอทีวี
ตอนนี้ลูกค้าแค่เปลี่ยนมาอยู่ที่หน้าจอมือถือ
ลองสังเกตพฤติกรรมลูกค้าในทุก ๆ กิจกรรมที่เขาทำ
ทั้งในโลกออนไลน์ และออฟไลน์ เขาใช้เวลาไปกับอะไรบ้าง?
และประยุกต์กลยุทธ์ 5A ในการมัดใจลูกค้า
Aware → ทำให้ลูกค้ารับรู้ รู้จักแบรนด์ของเรา
Appeal → ดึงดูดความสนใจ ทำให้ลูกค้าชื่นชอบ
Ask → ตอบคำถามลูกค้า เพื่อประกอบการตัดสินใจ
Act → ลูกค้าตัดสินใจซื้อ
Advocate → สร้างให้เกิดการบอกต่อ
3.เข้าใจ…ข้อมูล (Data)
Data คือ ข้อมูล ข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ภาพ หรือเสียง
ซึ่งยังไม่ได้มีการประมวลผล
ลองมองดูว่าตอนนี้เรามี Data อะไรอยู่ในมือบ้าง?
Data แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1.Data ของการบริหารจัดการธุรกิจ
เช่น ข้อมูลการผลิต สินค้าคงคลัง การจัดซื้อ การขาย
2.Data ของสินค้าและบริการ
เช่น ส่วนประกอบของสินค้า คุณสมบัติ หรือคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า
3.Data ของลูกค้า
เช่น พฤติกรรมการซื้อสินค้า อายุ เพศ อาชีพ ของลูกค้า
ข้อมูลเหล่านี้ลองจัดให้เป็นระบบ นำมาวิเคราะห์ ดูแนวโน้ม
มันจะทำให้เราความเข้าใจปัญหาของธุรกิจ
และเข้าใจลูกค้าพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น ลูกค้าเราคือใคร? ชอบ/ไม่ชอบอะไร?
สามารถนำมาวางกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้อีกด้วย
4.เข้าใจ…นวัตกรรม (Innovation)
Apple เป็นบริษัทแรกของโลก ที่มูลค่าบริษัทถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์
จุดสำคัญคือการเกิดขึ้นของ iPhone ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลก
การสร้างนวัตกรรมนั้น “มีต้นทุน” ทั้งคน เวลา และเงิน
และไม่รู้ว่าเมื่อสร้างออกมาแล้วมันจะเวิร์คหรือไม่
หนังสือเล่มนี้ได้พูดถึง “Design Thinking”
แนวคิดหนึ่งที่ใช้ในการช่วยสร้างนวัตกรรม
โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: Empathize เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง
ขั้นตอนที่ 2: Define ระบุปัญหา และความต้องการของลูกค้าให้ชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3: Ideate ระดมความคิด สร้างสรรค์ไอเดียที่จะใช้แก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 4: Prototype สร้างแบบจำลองต้นแบบ
ขั้นตอนที่ 5: Test ทดสอบ เรียนรู้ และนำมาปรับปรุงแก้ไข
แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดอีกมากพอสมควร
อยากให้ลองนำไปศึกษาต่อ และปรับใช้กันดูนะครับ
5.เข้าใจ…การทรานส์ฟอร์มองค์กร (Transformation in Action)
“Digital Transformation”
ไม่ใช่แค่ “การทำไอที (Information Technology)”
ไม่ใช่แค่ “การขายของออนไลน์”
แต่มันคือ “การใช้ Digital มาเปลี่ยนกลยุทธทางธุรกิจทั่วทั้งองค์กร”
Digital Transformation มี 6 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1: Business as Usual
- เป็นระยะที่ธุรกิจยังดำเนินไปในรูปแบบเดิม
อาจเริ่มมีความสนใจในดิจิทัล แต่ยังมองว่าไม่เร่งด่วน
ระยะที่ 2: Present and Active
- ผู้นำธุรกิจเริ่มออกจาก Confort Zone
- เริ่มเรียนรู้แนวทางในการทำ Digital Transformation
ระยะที่ 3: Formalized
- เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ มีการลงทุนที่ตรงจุด
- ผู้บริหารรับรู้และมีส่วนร่วม นำไปสู่การวางโครงสร้างใหม่
ระยะที่ 4: Strategic
- องค์กรยอมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุค Digital
- มองเห็นภาพระยะสั้นและระยะยาวว่าจะไปในทิศทางใด
- มีการวางแผนทรัพยากรที่มีจุดหมายชัดเจน
ระยะที่ 5: Converged
- Digital Transformation เป็นหนึ่งใน DNA ขององค์กร
- องค์กรมีการพัฒนาไอเดียใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
ระยะที่ 6: Innovative and Adaptive
- ได้มีการทำ Digital Transformation อย่างสมบูรณ์
- สามารถกระโดดเข้าสู่การเติบโตและการแข่งขันใหม่ ๆ ได้เต็มที่
เครื่องมือที่ 2: Digital Maturity Assessment
ประเมิน “ความพร้อม” ก่อนทำการทรานส์ฟอร์ม
เครื่องมือนี้จะช่วยให้เรารู้ว่า ตอนนี้เรามีความพร้อมในการทรานส์ฟอร์ม มากน้อยเพียงใด สิ่งใดที่เราขาด สิ่งใดที่เราทำได้ดี โดยแบ่งการพิจารณาเป็น 8 มิติ ดังนี้
มิติที่ 1: ด้านกลยุทธ์ (Strategy)
มิติที่ 2: ด้านผู้นำองค์กร (Leadership)
มิติที่ 3: ด้านประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience)
มิติที่ 4: ด้านการดำเนินงาน (Operation)
มิติที่ 5: ด้านบุคลากร (People)
มิติที่ 6: ด้านวัฒนธรรมองค์กร (Culture)
มิติที่ 7: ด้านองค์กร (Organization)
มิติที่ 8: ด้านเทคโนโลยี (Technology)
ทุกคนสามารถทำแบบประเมินได้ ฟรี! ไม่ค่าใช้จ่าย
เพียงเข้าไปที่ https://www.digitaltransformationacademy.org/assessment
หลังจากทำแบบประเมินเรียบร้อยแล้ว
เราจะสามารถแบ่ง Digital Maturity ได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 0: Outsiders องค์กรดั้งเดิม
- ยังมีการดำเนินงานรูปแบบเดิม เชื่อว่าของเดิมยังใช้ได้อยู่
ระดับที่ 1: Dreamers องค์กรช่างฝัน
- กำลังทำความเข้าใจธุรกิจในยุค 4.0
- มักจะให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาช่วยในการริเริ่ม
ระดับที่ 2: Adopters องค์กรหัวก้าวหน้า
- กำลังเพิ่มทักษะ ความรู้ ความเข้าใจเรื่อง Digital Transformation
- กำลังขวนขวาย ลงทุน ลงแรง ปรับองค์กรเพื่อเป้าหมายที่วางไว้
ระดับที่ 3: Harmonizers องค์กรรวมพลัง
- สามารถใช้ดิจิทัลมาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้
- มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ระบุรายละเอียดและระยะเวลาที่ชัดเจน
ระดับที่ 4: Differentiator ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
- มีโครงการที่นำดิจิทัลมาใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบ
- มีการประเมินความเสี่ยง และเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เมื่อเรารู้แล้วว่าองค์กรเราอยู่ในระดับใดก็ไปใช้เครื่องมือที่ 3 เพื่อทำการสร้าง Roadmap ในการทรานส์ฟอร์มกันได้เลย!
เครื่องมือที่ 3: Digital Transformation Roadmap Model
ออกแบบ “Roadmap” ในการทรานส์ฟอร์ม
เมื่อประเมินความพร้อมเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาสร้าง Roadmap ในการทำ Digital Transformation อย่างเป็นระบบ โดยมีวิธีการดำเนินงานดังนี้
.
1.Bridge
พิจารณาผลการประเมิน Digital Maturity เพื่อให้เห็นช่องว่าง ระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่ กับเป้าหมายที่อย่างให้เป็น ทั้ง 8 มิติ
.
2.Prioritize
จัดลำดับความสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาระดับ Digital Maturity โดยมุ่งเน้นมิติที่จะส่งผลกระทบต่อความเป็นแปลงที่สูงก่อน โดยคำนึงถึงทรัพยากร (บุคคล เวลา และงบประมาณ) ที่องค์กรมีอยู่ในปัจจุบันด้วย
.
3.Plan
คิดแผนการดำเนินงานจากปัจจุบันไปสู่อนาคต วางเป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จรวมถึงกรอบระยะเวลา เพื่อเพิ่มระดับ Digital Maturity ทั้ง 8 มิติ ตามลำดับความสำคัญที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2
.
4.Design for Transformation
ออกแบบการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด และมุมมองต่าง ๆ ดังนี้
- Purpose: สร้างแรงบันดาลใจและวัตถุประสงค์ร่วมกันของทุกคน
- Human: การบริหารจัดการบุคคลทั้งผู้ที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
- Collaboration: สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและพฤติรรม ที่ต้องการให้เกิดขึ้นของแต่ละฝ่าย
- Enabler: ปัจจัยร่วมในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง เช่น การสนับสนุนจากผู้บริหาร
- Barrier: คาดการณ์สิ่งที่เป็นอุปสรรค และวางแผนในการจัดการไว้ล่วงหน้า
เครื่องมือที่ 4: Digital Transformation Metrics
ลงมือทรานส์ฟอร์ม วัดผล เรียนรู้
เมื่อองค์กรได้ลงมือทำการทรานส์ฟอร์มแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่า “สิ่งที่เราทำไปนั้นสำเร็จ” เราจึงต้องมี “ตัวชี้วัด” ความสำเร็จ
โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
.
ส่วนที่ 1: New Growth
นั้นก็คือ “สัดส่วนรายได้” ที่มาจากสินค้าและบริการใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น หลังจากการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เทียบกับรายได้จากธุรกิจหลักเดิม
ส่วนที่ 2: Repositioning the core
ความสามารถในการเปลี่ยนแปลง “Core (แก่น)” ของธุรกิจเดิม รวมถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในตลาดหรืออุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจอยู่
ส่วนที่ 3: Financials
ผลประกอบการของธุรกิจที่แข็งแกร่ง ทั้งการเงินและตลาดทุน ความสามารถในการพลิกฟื้นธุรกิจจากเดิมที่เคยขาดทุน หรือตกต่ำ จนกลับมาเป็นผู้นำในตลาดได้
.
หนังสือเล่มนี้ยังได้บอกอีกว่า บริษัทไหนที่ทำ Digital Transformation สำเร็จ! จะเกิดผลลัพธ์ตาม “สูตร 3+1” ดังนี้
1. New Efficiencies (ประสิทธิภาพใหม่)
ต้นทุนลดลง สามารถผลิตสินค้าหรือส่งมอบการบริการได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่มีข้อเดียวยังไม่พอต้องมีอีก 2 ข้อด้วย
2. Enhance Customer Experiences (ประสบการณ์ใหม่)
นอกจากผลลัพธ์จากข้อแรกแล้ว ต้องทำให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ใหม่ที่ดีกว่าการใช้งานสินค้าหรือบริการแบบเดิม ๆ
3. Build New Business Models (สร้างโมเดลธุรกิจใหม่)
Digital Transformation ต้องทำให้ธุรกิจสามารถสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ หรือวิธีการหารายได้ใหม่ ๆ ซึ่งเกิดจากความสามารถในการแข่งขันใหม่ของบริษัทเอง
.
นอกจาก 3 ข้อนี้แล้วยังต้องเกิดอีก 1 อย่างที่สำคัญมาก ๆ นั้นคือการสร้าง “New S-Curve” การเติบโตที่ก้าวกระโดดและเห็นได้ชัดนั้นเอง
.
หวังว่าการสรุปครั้งนี้จะช่วยให้ธุรกิจของคุณพัฒนาขึ้นได้ ไม่มากก็น้อยนะครับ
.
สำหรับผู้ที่อยากศึกษาเรื่อง Digital Transformation อย่างจริงจัง
สามารถสั่งซื้อหนังสือ Digital Transformation Compass ได้ที่